My Melody Crying

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันจันทร์ ที่ 24 พฤษจิกายน 2557
ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน 103
เวลาเรียน 11.30 - 14.00 น.
วันนี้อาจารย์สอนบรรยาย เรื่องเด็กสมาธิสั้น  โดยดิฉันได้สรุปเนื้อหาดังนี้



กิจกรรมในห้องเรียน
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาดู VDO จากโทรทัศน์ครูจากนั้นก็ให้จับพร้อมสรุปเป็นองค์ความรู้เป็นเนื้อหาและ Mindmap  ดังนี้
การช่วยเหลือเด็กพิเศษระยะแรกเริ่มมี 5 ขั้นตอนดังนี้
1.การส่งต่อจากครอบครัวหรือผู้เชี่ยวชาญ
2.ประเมินพัฒนาการตามช่วงวัย
3.การจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะครอบครัว
4.การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะอย่างรอบด้าน
5.การประเมินผล
      การช่วยเหลือเด็กพิเศษระยะเริ่มแรกมีความสำคัญต่อตัวเด็ก คือป้องกันความพิการที่จะมีมากขึ้น  วัยที่ต้องได้รับการส่งเสริมที่ดีตามศักยภาพ  โดยมีวิธีการส่งเสริมพัฒนาการดังนี้
1.การสอนทักษะพื้นฐานกิจวัตรประจำวัน
2.การออกแบบกิจกรรมเพื่อกระตุ้นพัฒนาการรอบด้าน
        เด็กพิการทุกประเภทมีสิทธิ์ในการเข้าสู่ชั้นเรียนร่วม  แต่ในขณะเดียวกันเด็กมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการฝึกทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการดูแลตัวเองมีทักษะการเรียนรู้ในระดับหนึ่งและมีการร่วมมือร่วมใจของผู้ปกครองและโรงเรียนมุ่งพัฒนาศักยภาพของเด็กตามคำชี้แนะของคุณครูจะทำให้ผู้เรียนสามารถก้าวเดินต่อไปได้อย่างมั่นคง




สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม
โรคสมาธิสั้น หรือ โรคเอดีเอชดี (Attention deficit-hyperactivity disorder หรือ ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการพัฒนาทางระบบสติปัญญา ระบบประสาท และพฤติกรรม โดยอาการหลักๆ ของโรคอาจสังเกตได้ดังนี้ คือ การไม่มีสมาธิจดจ่อ (Inattention) อยู่ไม่นิ่งและซุกซนผิดปกติ (Hyperactivity) หุนพันพลันแล่นและขาดความยับยั้งชั่งใจ (Impulsiveness) อาการเหล่านี้มักปรากฏในเด็กวัยก่อน 7 ขวบ โรคนี้มักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 2-3 เท่า ปัจจุบันพบว่าเด็กทั่วโลกร้อยละ 3-5 ป่วยด้วยโรคสมาธิสั้น โดยเป็นเด็กในวัยเรียนถึงร้อยละ 2-16 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้เป็นอย่างมาก
ปัญหาของสมาธิสั้น
เมื่อสงสัยว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้น พ่อแม่มักขอคำปรึกษาแพทย์อายุรกรรมหรือกุมารแพทย์ก่อน ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อย่างไรก็ตามพ่อแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ นักจิตวิทยาเด็ก จิตแพทย์เด็ก หรือ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เป็นต้น เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรคที่ถูกต้อง แม้ว่าโรคสมาธิสั้นจะเป็นโรคที่มักไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากได้รับการวินิจฉัยโรคอย่างทันท่วงทีและได้การรักษาที่เหมาะสมก็จะสามารถลดความรุนแรงของอาการของโรคได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องแล้ว เด็กโรคสมาธิสั้นมักประสบปัญหาในการเรียน มีปัญหาบ่อย และไม่สามารถเข้ากับเพื่อนได้ เด็กอาจเครียดและเกิดความกังวลใจจนนำไปสู่ความไม่มั่นใจในตนเองและอาจนำไปสู่ความตึงเครียดภายในครอบครัวได้ (อาจทำให้เกิดปัญหาภายในตัวเด็กและครอบครัวได้) ปัจจุบัน การรักษาโรคสมาธิสั้นประกอบด้วย 2 วิธีหลัก กล่าวคือ การบำบัดทางจิต และการรักษาด้วยยา โดยทั้งสองวิธีสามารถทำควบคู่กันได้ หรือทำวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ผลการวิจัยจำนวนมากระบุว่าการรับประทานยาเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถบรรเทาอาการของโรคสมาธิสั้นได้ดีนัก ดังนั้นการรักษาด้วยทั้งสองวิธีควบคู่กันจึงเป็นทางเลือกดีที่กว่า เพราะยาจะช่วยบรรเทาบางอาการของโรคในทันที ในขณะที่การบำบัดจะช่วยให้เด็กโรคสมาธิสั้นเรียนรู้ทักษะในการใช้ชีวิต
อ้างอิง
การนำไปประยุกต์ใช้
ถ้าเรารู้ขั้นตอนหรืออาการต่างๆของโรคสมาธิสั้น  เราก็สามารถที่จะรู้ว่าเด็กเป็นอารัยต้องดูแลแบบไหนและสามารถช่วยได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้ทำ  และตั้งใจดูโทรทัศน์ครูพร้อมสรุปองค์ความรู้ออกมา
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมมากค่ะแต่วันนี้รู้สึกว่าเพื่อนจะคุยเยอะและส่งเสียงกว่าทุกๆครั้ง
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์สอนและอธิบายได้อย่างเข้าใจดี  และยังมีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำอีก


ชลธิชา  ป้องคำ  เลขที่ 32













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น