My Melody Crying

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันจันทร์ ที่ 10 พฤษจิกายน 2557
ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 103
เวลาเรียน 11.30 - 14.00 น.


กิจกรรมวันนี้
วันนี้อาจารย์สอนบรรยายเนื้อหาเรื่อง  การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ  
วัตถุประสงค์
-เด็กพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
-สามารถประกอบอาชีพได้
-เพื่อให้พ่อแม่มีความรู้
-เพื่อให้พ่อแม่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อบุตร
เป้าหมายของการส่งเสริมพัฒนาการ
-สามารถพึ่งตนเองและมีชีวิตอยู่ในสังคมได้
-เพื่อให้มีการพัฒนาขึ้นตามขั้นตอน
Down's Syndrome
วัตถุประสงค์
-สามารถช่วยเหลือตนเองได้
-ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้
-เน้นการดูแลแบบองค์รวม(Holistic Approach)
แนวทางการดูและรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ ดังนี้
1.ด้านสุขภาพ
2.การส่งเสริมพัฒนาการ
3.การดำรงชีวิตประจำวัน
4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ
การปฏิบัติของบิดามารดา
-ยอมรับความจริง
-ให้ความรักความอบอุ่น
-การคุมกำเนิดและทำหมัน
-การสอนเพศศึกษา
-ตรวจโรคหัวใจ
Autistic
แนวทางการดูและรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ ดังนี้
1.ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว
2.ส่งเสริมความสามารถของเด้ก
3.พฤติกรรมบำบัด
4.การส่งเสริมพัฒนาการ
5.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
6.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
7.การฟื้รฟูสมรรถภาพทางสังคม
8.การรักษาด้วยยา
9.การบำบัดทางเลือก
การสื่อความหมายทดแทน
-การรับรู้ผ่านการมอง
-โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร
-เครื่องโอภา



โอภา รุ่น 2.3 เสริมฟังก์ชันพิเศษให้กับผู้ใช้ที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของนิ้วมือได้ หรือ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนทำให้กดปุ่มสัญรูปบนหน้ากล่องโอภาได้ เพิ่มฟังก์ชัน การสแกนปุ่มโดย มีหน้าปัทม์แสดงตัวเลขบอกการสแกนไปที่ช่องหมายเลข ผู้ใช้สามารถเลือกช่องหมายเลขนั้นๆ โดยการกดสวิตช์เดี่ยวที่พ่วงต่อกับโอภา หรือเลือกใช้รีโมท คอนโทรลในการเลือกหมายเลขช่องสัญรูป ในกรณีที่ผู้ใช้มีการบังคับและควบคุมกล้ามเนื้อได้
คุณสมบัติ 
-สามารถบันทึกเสียง และเล่นเสียงข้อความที่บันทึกไว้
-สามารถบันทึกได้ 60 ข้อความ ข้อความละ 4 วินาที แบ่งเป็น 4 ระดับ ระดับละ 15 ข้อความ
-สามารถบันทึกเสียงได้ใหม่ตลอดเวลา
-สามารถใช้งานร่วมกับสวิตช์ (single switch) ในหน้าที่การทำงานแบบสแกน ในการเล่นเสียงข้อความที่บันทึก
-สามารถสั่งงานการเล่นเสียงข้อความที่บันทึกผ่านรีโมทได้
-มีหลอดไฟขนาดเล็กแสดงสถานะการทำงาน
-สามารถปรับความดังของเสียง และต่อสัญญาณเสียงไปยังเครื่องขยายเสียงภายนอกได้
-สามารถปรับตัวเองให้อยู่ในระบบประหยัดพลังงานได้ ขณะไม่ได้เล่นจะใช้กระแสไฟ 10 มิลลิแอมป์ ขณะเล่นจะใช้กระแสไฟ 80 มิลลิแอมป์ สามารถเล่นติดต่อกันได้นาน 7.5 ชั่วโมง สามารถเปิดเครื่องรอใช้งานได้นาน 10 ชั่วโมง
-สามารถใช้ไฟจากแหล่งจ่ายไฟภายนอกผ่านหม้อแปลงไฟขนาด 9 โวลต์
-สามารถชาร์จแบตเตอรีได้ตลอดเวลา
-ขนาด 10X19X4 เซนติเมตร
-น้ำหนักเบาเพียง 450 กรัม
-โปรแกรมปราศรัย





ปราศรัยเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างโปรแกรมช่วยสื่อสารเพื่อช่วยเหลือผู้ที่สูญเสียความสามารถ ในการพูดให้สามารถสื่อสารกับบุคคลรอบข้างผ่านคอมพิวเตอร์ โดยใช้สัญรูปแทนการสื่อความหมาย คอมพิวเตอร์ ปราศรัยได้รับแนวคิดมาจากการใช้เครื่องช่วยสื่อสารด้วยเสียงพูด (augmentative alternative communication) มาทดแทนเสียงจริงที่ผู้ใช้สูญเสียไปหรือมีความบกพร่องทำให้ ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจได้ ปราศรัยทำหน้าที่เป็นเสมือนกล่อง ที่บรรจุเสียงพูด ที่ใช้ในการสนทนาไว้อย่างไม่จำกัดจำนวน โดยใช้หลักการจัดเก็บฐานข้อมูลของเสียงด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย โดยแบ่งเสียงแบ่ง เป็นหมวดหมู่ ตามการใช้งาน ซึ่งแต่ละเสียงจะหน่วยประกอบด้วยเสียงพูด รูปภาพและ ข้อความ
ปราศรัยยังมีโปรแกรมบรรณาธิกรณ์ช่วยให้สามารถเพิ่มและลบ ข้อความ / เสียง /รูปภาพได้ อย่างไม่จำกัด ผู้ที่บกพร่อง ทางการออกเสียง สามารถใช้งานโปรแกรมนี้ ได้อย่างสะดวกและง่ายดาย เพียงเลือกคลิกสัญรูปที่ต้องการสื่อความหมาย หรือกดสวิตช์เดี่ยวเมื่อใช้กับฟังก์ชันสแกน ก็จะมีเสียง ของข้อความที่ต้องการสื่อสารเปล่งออกมา
คุณสมบัติ 
-สามารถบันทึกเพิ่ม หรือ ลบเสียง / ข้อความ / รูปภาพ ได้ไม่จำกัด
-มีระบบสแกนซึ่งเป็นหน้าที่พิเศษ ทำงานร่วมกับสวิตช์เดี่ยว (single switch) เพื่อช่วยเหลือในการเลือกข้อความสำหรับผู้ที่มีปัญหาการควบคุมการใช้งานของมือและแขน
กลุ่มผู้ใช้ 
-ผู้ที่พูดไม่ได้
-ผู้ที่ผ่าตัดกล่องเสียง หรือเส้นเสียงเสีย
-ผู้ที่ออกเสียงไม่ชัด มีความบกพร่องในการออกเสียง เนื่องจากมีความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องปาก และลำคอ
-ผู้ที่มีปัญหาการพูด เนื่องจาก สมองส่วนที่ควบคุมการพูดบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยอัมพาต เนื่องจากเส้นโลหิตในสมองอุดตัน เด็กที่เป็น celebral palsy เป็นต้น
ตัวอย่าง




ค้นคว้าเพิ่มเติม
แก้ไขการพูด(Speech Therapy)
ถ้าเด็กพูดได้เร็ว โอกาสที่จะมีพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติก็จะเพิ่มมากขึ้น ใน
ขณะเดียวกัน การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมก็ลดลงด้วย ดังนั้นการฝึกและแก้ไขการพูดจึงมีความสําคัญ 
ในการเตรียมความพร้อมเด็กก่อนที่จะสอนพูด ควรฝึกการเปล่งลม เคลื่อนไหวปาก โดยการเป่า
มือ เป่ากระดาษ เป่ าลูกปิงปอง เป่ าฟองสบู่ เป่านกหวีด ฝึกการเคลื่อนไหวลิ้น โดยการอมลูกอม เลียอม ยิ้ม และฝึกการเล่นเสียงในถ้วย
ผู้เชี่ยวชาญที่ฝึกและแก้ไขการพูดคือ “นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย” หรือ “นักแก้ไขการ
พูด” (Speech Therapist/ Speech Pathologist) แต่เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ มีไม่เพียงพอกับ
ความต้องการในปัจจุบันดังนั้นสามารถเข้ารับการฝึกจาก “ครูฝึกพูด” ซึ่งเป็นครูการศึกษาพิเศษที่
ผ่านการอบรมในด้านการฝึกและแก้ไขการพูด ในเบื้ องต้นได้เช่นกัน แต่ควรมีการประเมินติดตาม
ความก้าวหน้าในการฝึกและคําแนะนําเพิ่มเติมจากนักแก้ไขการพูดเป็นระยะ  ผู้ที่มีบทบาทสําคัญในการฝึกและแก้ไขการพูด ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่คือผู้ปกครองซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับเด็ก ดังนั้นไม่ใช่การรอจนถึงวันนัดแล้วค่อยฝึกเท่านั้น เพราะจะไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ผู้ปกครองสามารถกระตุ้นให้มีการพูดได้โดยผ่านการเล่นได้เช่นกัน พยายามสร้างสถานการณ์ ที่กระตุ้นให้เกิดการสื่อสารขึ้น เช่น เวลาเล่นต่อจิ๊กซอว์ ก็อาจเอาไปซ่อนชิ้ นหนึ่งเพื่อให้เด็กถามหา หรือ อาจเอารองเท้าของคนอื่นมาให้เด็กใส่ เพื่อให้เด็กบอกว่า “ไม่ใช่” หรือถามหารองเท้าของตนเอง เป็นต้น นอกจากนี้ควรนําเทคนิควิธีการฝึกซึ่งได้รับการแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 
อ้างอิง
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำสื่อเทคโนโลยีไปใช้กับเด็กได้เพื่อแบ่งเบาการเรียนการสอนของเด็กและเพื่อให้ได้มีความสะดวกสบายในการสื่อสารกับครูและเพื่อนๆ  และง่ายต่อการเรียนการสอนของเด็กอีกด้วย
ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อยเข้าเรียนตรงเวลาค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียนพอสมควร
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์สอนบรรยายและอธิบายเนื้อของแต่ละหัวได้อย่างละเอียดมากค่ะ

ชลธิชา  ป้องคำ  เลขที่ 32




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น