My Melody Crying

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันจันทร์ ที่ 1 ธันวาคม 2557
ครั้งที่ 16 กลุ่มเรียน 103
เวลาเรียน 11.30 - 14.00 น.
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันสุดท้ายก่อนปิดคลอสอาจารย์ให้นักศึกษาประเมินผลดังนี้
1.ความรู้สึกหลังเรียนวิชานี้
2.สิ่งที่ชอบและอยากให้อาจารย์คงไว้
3.สิ่งที่ไม่ชอบและอยากให้อาจารย์ปรับปรุง
และวันนี้อาจารย์ก็มีการแจกรางวัลเด็กเีให้กับนักศึกษาวันนี้หนูถึงจะไม่ได้แต่ก็ดีใจมากที่ได้มีโอกาสได้เรียนหนังสือกับอาจารย์เบียร์ถ้ามีโอกาสได้เจอกันในวิชาอื่นหนูจะพยายามทำให้ดีกว่าน่ะค่ะและภูมิใจมากๆเลยที่ได้เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์อีกคน 



ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจฟังในสิ่งอาจารย์พูดและเข้าเรียนตรงต่อเวลาค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนก็เสียงดังนิดหน่อยค่ะอาจจะเป็นเพราะว่าตื่นเต้นที่อาจารย์จะแจกรางวัล   
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์มีการพูดแนะนำเรื่องสอบนิดหน่อยสนุกสนานร่าเริงอารมณ์ดี


วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันจันทร์ ที่ 24 พฤษจิกายน 2557
ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน 103
เวลาเรียน 11.30 - 14.00 น.
วันนี้อาจารย์สอนบรรยาย เรื่องเด็กสมาธิสั้น  โดยดิฉันได้สรุปเนื้อหาดังนี้



กิจกรรมในห้องเรียน
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาดู VDO จากโทรทัศน์ครูจากนั้นก็ให้จับพร้อมสรุปเป็นองค์ความรู้เป็นเนื้อหาและ Mindmap  ดังนี้
การช่วยเหลือเด็กพิเศษระยะแรกเริ่มมี 5 ขั้นตอนดังนี้
1.การส่งต่อจากครอบครัวหรือผู้เชี่ยวชาญ
2.ประเมินพัฒนาการตามช่วงวัย
3.การจัดแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลหรือเฉพาะครอบครัว
4.การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะอย่างรอบด้าน
5.การประเมินผล
      การช่วยเหลือเด็กพิเศษระยะเริ่มแรกมีความสำคัญต่อตัวเด็ก คือป้องกันความพิการที่จะมีมากขึ้น  วัยที่ต้องได้รับการส่งเสริมที่ดีตามศักยภาพ  โดยมีวิธีการส่งเสริมพัฒนาการดังนี้
1.การสอนทักษะพื้นฐานกิจวัตรประจำวัน
2.การออกแบบกิจกรรมเพื่อกระตุ้นพัฒนาการรอบด้าน
        เด็กพิการทุกประเภทมีสิทธิ์ในการเข้าสู่ชั้นเรียนร่วม  แต่ในขณะเดียวกันเด็กมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการฝึกทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการดูแลตัวเองมีทักษะการเรียนรู้ในระดับหนึ่งและมีการร่วมมือร่วมใจของผู้ปกครองและโรงเรียนมุ่งพัฒนาศักยภาพของเด็กตามคำชี้แนะของคุณครูจะทำให้ผู้เรียนสามารถก้าวเดินต่อไปได้อย่างมั่นคง




สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม
โรคสมาธิสั้น หรือ โรคเอดีเอชดี (Attention deficit-hyperactivity disorder หรือ ADHD) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการพัฒนาทางระบบสติปัญญา ระบบประสาท และพฤติกรรม โดยอาการหลักๆ ของโรคอาจสังเกตได้ดังนี้ คือ การไม่มีสมาธิจดจ่อ (Inattention) อยู่ไม่นิ่งและซุกซนผิดปกติ (Hyperactivity) หุนพันพลันแล่นและขาดความยับยั้งชั่งใจ (Impulsiveness) อาการเหล่านี้มักปรากฏในเด็กวัยก่อน 7 ขวบ โรคนี้มักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 2-3 เท่า ปัจจุบันพบว่าเด็กทั่วโลกร้อยละ 3-5 ป่วยด้วยโรคสมาธิสั้น โดยเป็นเด็กในวัยเรียนถึงร้อยละ 2-16 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้เป็นอย่างมาก
ปัญหาของสมาธิสั้น
เมื่อสงสัยว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้น พ่อแม่มักขอคำปรึกษาแพทย์อายุรกรรมหรือกุมารแพทย์ก่อน ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อย่างไรก็ตามพ่อแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ นักจิตวิทยาเด็ก จิตแพทย์เด็ก หรือ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เป็นต้น เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรคที่ถูกต้อง แม้ว่าโรคสมาธิสั้นจะเป็นโรคที่มักไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากได้รับการวินิจฉัยโรคอย่างทันท่วงทีและได้การรักษาที่เหมาะสมก็จะสามารถลดความรุนแรงของอาการของโรคได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องแล้ว เด็กโรคสมาธิสั้นมักประสบปัญหาในการเรียน มีปัญหาบ่อย และไม่สามารถเข้ากับเพื่อนได้ เด็กอาจเครียดและเกิดความกังวลใจจนนำไปสู่ความไม่มั่นใจในตนเองและอาจนำไปสู่ความตึงเครียดภายในครอบครัวได้ (อาจทำให้เกิดปัญหาภายในตัวเด็กและครอบครัวได้) ปัจจุบัน การรักษาโรคสมาธิสั้นประกอบด้วย 2 วิธีหลัก กล่าวคือ การบำบัดทางจิต และการรักษาด้วยยา โดยทั้งสองวิธีสามารถทำควบคู่กันได้ หรือทำวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ผลการวิจัยจำนวนมากระบุว่าการรับประทานยาเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถบรรเทาอาการของโรคสมาธิสั้นได้ดีนัก ดังนั้นการรักษาด้วยทั้งสองวิธีควบคู่กันจึงเป็นทางเลือกดีที่กว่า เพราะยาจะช่วยบรรเทาบางอาการของโรคในทันที ในขณะที่การบำบัดจะช่วยให้เด็กโรคสมาธิสั้นเรียนรู้ทักษะในการใช้ชีวิต
อ้างอิง
การนำไปประยุกต์ใช้
ถ้าเรารู้ขั้นตอนหรืออาการต่างๆของโรคสมาธิสั้น  เราก็สามารถที่จะรู้ว่าเด็กเป็นอารัยต้องดูแลแบบไหนและสามารถช่วยได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้ทำ  และตั้งใจดูโทรทัศน์ครูพร้อมสรุปองค์ความรู้ออกมา
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมมากค่ะแต่วันนี้รู้สึกว่าเพื่อนจะคุยเยอะและส่งเสียงกว่าทุกๆครั้ง
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์สอนและอธิบายได้อย่างเข้าใจดี  และยังมีกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำอีก


ชลธิชา  ป้องคำ  เลขที่ 32













วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันจันทร์ ที่ 17 พฤษจิกายน 2557
ครั้งที่ 14 กลุ่มเรียน 103
เวลาเรียน 11.30 - 14.00 น.

วันนี้ไม่มีการเรียนสอนเนื่องจากอาจารย์ให้นักศึกษาได้เตรียมตัวการทำกิจกรรมของวิชาการจัดประสบการณ์นาฏศิลป์และเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
โดยดิฉันได้นำภาพกิจกรรมมาฝากดังนี้ค่ะ


ระบำเกาหลี


รำไทยประยุกต์


ระบำดอกบัว
เป็นการแสดงชุดหนึ่งที่ประกอบในละครเรื่อง "น่านเจ้า" ซึ่งประพันธ์โดย ฯพณฯ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ต่อมาได้นำมาใช้ในการแสดงเบิกโรงหรือรำอวยพรทั่วไป




รำจินตลีลา  เพลงเดินตามรอยเท้าพ่อ



รำตังหวาย
เป็นการรำเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพิธีขอขมา ของชาวจังหวัดอุบลราชธานี
ภายหลังนิยมแสดงในงานนักขัตฤกษ์และต้อนรับผู้มีเกรียติของภาคอีสาน


ระบำขวัญข้าว
การแสดงชุด รับขวัญข้าว ได้แนวคิดมาจากเรื่องราวพิธีกรรมในการทำขวัญข้าว เป็นพิธีกรรมโบราณที่สะท้อนให้เห็นถึงความกตัญญูกตเวทีโดยแสดงออกด้วยความเคารพบูชาแสดงให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีความมีน้ำใจซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันดีเมื่อครั้งอดีต แต่ปัจจุบันนี้กำลังลบเลือนหายไป ดังนั้นผู้สร้างสรรค์จึงนำแนวคิดมาสะท้อนในรูปแบบของนาฏศิลป์สร้างสรรค์เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เห็นถึงความสำคัญของผืนแผ่นดินที่ให้ความอุดมสมบูรณ์ก่อให้เกิดพืชพรรณธัญญาหารหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ พระคุณของ “ข้าว” อาหารหลักของชาวไทย


ระบำ๔ภาค
เป็นการแสดงที่สวยงามชุดหนึ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพื่อให้เห็นลีลาท่ารำ ตลอดจนสำเนียงดนตรีการแต่งกาย และอาชีพที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยนอกจากนี้ ยังชี้ให้เห็นถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนไทย ถึงแม้จะอยู่คนละภาคกัน 



ระบำเงือก
เป็นการแสดงชุดหนึ่งที่อยู่ในละครเรื่องสุวรรณหงส์  ตอน กุมภนฑ์ถวายม้า



การแสดงละครสร้างสรรค์







นางสาวชลธิชา  ป้องคำ  เลขที่  32 






วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันจันทร์ ที่ 10 พฤษจิกายน 2557
ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 103
เวลาเรียน 11.30 - 14.00 น.


กิจกรรมวันนี้
วันนี้อาจารย์สอนบรรยายเนื้อหาเรื่อง  การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ  
วัตถุประสงค์
-เด็กพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
-สามารถประกอบอาชีพได้
-เพื่อให้พ่อแม่มีความรู้
-เพื่อให้พ่อแม่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อบุตร
เป้าหมายของการส่งเสริมพัฒนาการ
-สามารถพึ่งตนเองและมีชีวิตอยู่ในสังคมได้
-เพื่อให้มีการพัฒนาขึ้นตามขั้นตอน
Down's Syndrome
วัตถุประสงค์
-สามารถช่วยเหลือตนเองได้
-ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้
-เน้นการดูแลแบบองค์รวม(Holistic Approach)
แนวทางการดูและรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ ดังนี้
1.ด้านสุขภาพ
2.การส่งเสริมพัฒนาการ
3.การดำรงชีวิตประจำวัน
4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ
การปฏิบัติของบิดามารดา
-ยอมรับความจริง
-ให้ความรักความอบอุ่น
-การคุมกำเนิดและทำหมัน
-การสอนเพศศึกษา
-ตรวจโรคหัวใจ
Autistic
แนวทางการดูและรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ ดังนี้
1.ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว
2.ส่งเสริมความสามารถของเด้ก
3.พฤติกรรมบำบัด
4.การส่งเสริมพัฒนาการ
5.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
6.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
7.การฟื้รฟูสมรรถภาพทางสังคม
8.การรักษาด้วยยา
9.การบำบัดทางเลือก
การสื่อความหมายทดแทน
-การรับรู้ผ่านการมอง
-โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร
-เครื่องโอภา



โอภา รุ่น 2.3 เสริมฟังก์ชันพิเศษให้กับผู้ใช้ที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของนิ้วมือได้ หรือ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนทำให้กดปุ่มสัญรูปบนหน้ากล่องโอภาได้ เพิ่มฟังก์ชัน การสแกนปุ่มโดย มีหน้าปัทม์แสดงตัวเลขบอกการสแกนไปที่ช่องหมายเลข ผู้ใช้สามารถเลือกช่องหมายเลขนั้นๆ โดยการกดสวิตช์เดี่ยวที่พ่วงต่อกับโอภา หรือเลือกใช้รีโมท คอนโทรลในการเลือกหมายเลขช่องสัญรูป ในกรณีที่ผู้ใช้มีการบังคับและควบคุมกล้ามเนื้อได้
คุณสมบัติ 
-สามารถบันทึกเสียง และเล่นเสียงข้อความที่บันทึกไว้
-สามารถบันทึกได้ 60 ข้อความ ข้อความละ 4 วินาที แบ่งเป็น 4 ระดับ ระดับละ 15 ข้อความ
-สามารถบันทึกเสียงได้ใหม่ตลอดเวลา
-สามารถใช้งานร่วมกับสวิตช์ (single switch) ในหน้าที่การทำงานแบบสแกน ในการเล่นเสียงข้อความที่บันทึก
-สามารถสั่งงานการเล่นเสียงข้อความที่บันทึกผ่านรีโมทได้
-มีหลอดไฟขนาดเล็กแสดงสถานะการทำงาน
-สามารถปรับความดังของเสียง และต่อสัญญาณเสียงไปยังเครื่องขยายเสียงภายนอกได้
-สามารถปรับตัวเองให้อยู่ในระบบประหยัดพลังงานได้ ขณะไม่ได้เล่นจะใช้กระแสไฟ 10 มิลลิแอมป์ ขณะเล่นจะใช้กระแสไฟ 80 มิลลิแอมป์ สามารถเล่นติดต่อกันได้นาน 7.5 ชั่วโมง สามารถเปิดเครื่องรอใช้งานได้นาน 10 ชั่วโมง
-สามารถใช้ไฟจากแหล่งจ่ายไฟภายนอกผ่านหม้อแปลงไฟขนาด 9 โวลต์
-สามารถชาร์จแบตเตอรีได้ตลอดเวลา
-ขนาด 10X19X4 เซนติเมตร
-น้ำหนักเบาเพียง 450 กรัม
-โปรแกรมปราศรัย





ปราศรัยเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างโปรแกรมช่วยสื่อสารเพื่อช่วยเหลือผู้ที่สูญเสียความสามารถ ในการพูดให้สามารถสื่อสารกับบุคคลรอบข้างผ่านคอมพิวเตอร์ โดยใช้สัญรูปแทนการสื่อความหมาย คอมพิวเตอร์ ปราศรัยได้รับแนวคิดมาจากการใช้เครื่องช่วยสื่อสารด้วยเสียงพูด (augmentative alternative communication) มาทดแทนเสียงจริงที่ผู้ใช้สูญเสียไปหรือมีความบกพร่องทำให้ ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจได้ ปราศรัยทำหน้าที่เป็นเสมือนกล่อง ที่บรรจุเสียงพูด ที่ใช้ในการสนทนาไว้อย่างไม่จำกัดจำนวน โดยใช้หลักการจัดเก็บฐานข้อมูลของเสียงด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย โดยแบ่งเสียงแบ่ง เป็นหมวดหมู่ ตามการใช้งาน ซึ่งแต่ละเสียงจะหน่วยประกอบด้วยเสียงพูด รูปภาพและ ข้อความ
ปราศรัยยังมีโปรแกรมบรรณาธิกรณ์ช่วยให้สามารถเพิ่มและลบ ข้อความ / เสียง /รูปภาพได้ อย่างไม่จำกัด ผู้ที่บกพร่อง ทางการออกเสียง สามารถใช้งานโปรแกรมนี้ ได้อย่างสะดวกและง่ายดาย เพียงเลือกคลิกสัญรูปที่ต้องการสื่อความหมาย หรือกดสวิตช์เดี่ยวเมื่อใช้กับฟังก์ชันสแกน ก็จะมีเสียง ของข้อความที่ต้องการสื่อสารเปล่งออกมา
คุณสมบัติ 
-สามารถบันทึกเพิ่ม หรือ ลบเสียง / ข้อความ / รูปภาพ ได้ไม่จำกัด
-มีระบบสแกนซึ่งเป็นหน้าที่พิเศษ ทำงานร่วมกับสวิตช์เดี่ยว (single switch) เพื่อช่วยเหลือในการเลือกข้อความสำหรับผู้ที่มีปัญหาการควบคุมการใช้งานของมือและแขน
กลุ่มผู้ใช้ 
-ผู้ที่พูดไม่ได้
-ผู้ที่ผ่าตัดกล่องเสียง หรือเส้นเสียงเสีย
-ผู้ที่ออกเสียงไม่ชัด มีความบกพร่องในการออกเสียง เนื่องจากมีความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องปาก และลำคอ
-ผู้ที่มีปัญหาการพูด เนื่องจาก สมองส่วนที่ควบคุมการพูดบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยอัมพาต เนื่องจากเส้นโลหิตในสมองอุดตัน เด็กที่เป็น celebral palsy เป็นต้น
ตัวอย่าง




ค้นคว้าเพิ่มเติม
แก้ไขการพูด(Speech Therapy)
ถ้าเด็กพูดได้เร็ว โอกาสที่จะมีพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติก็จะเพิ่มมากขึ้น ใน
ขณะเดียวกัน การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมก็ลดลงด้วย ดังนั้นการฝึกและแก้ไขการพูดจึงมีความสําคัญ 
ในการเตรียมความพร้อมเด็กก่อนที่จะสอนพูด ควรฝึกการเปล่งลม เคลื่อนไหวปาก โดยการเป่า
มือ เป่ากระดาษ เป่ าลูกปิงปอง เป่ าฟองสบู่ เป่านกหวีด ฝึกการเคลื่อนไหวลิ้น โดยการอมลูกอม เลียอม ยิ้ม และฝึกการเล่นเสียงในถ้วย
ผู้เชี่ยวชาญที่ฝึกและแก้ไขการพูดคือ “นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย” หรือ “นักแก้ไขการ
พูด” (Speech Therapist/ Speech Pathologist) แต่เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ มีไม่เพียงพอกับ
ความต้องการในปัจจุบันดังนั้นสามารถเข้ารับการฝึกจาก “ครูฝึกพูด” ซึ่งเป็นครูการศึกษาพิเศษที่
ผ่านการอบรมในด้านการฝึกและแก้ไขการพูด ในเบื้ องต้นได้เช่นกัน แต่ควรมีการประเมินติดตาม
ความก้าวหน้าในการฝึกและคําแนะนําเพิ่มเติมจากนักแก้ไขการพูดเป็นระยะ  ผู้ที่มีบทบาทสําคัญในการฝึกและแก้ไขการพูด ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่คือผู้ปกครองซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับเด็ก ดังนั้นไม่ใช่การรอจนถึงวันนัดแล้วค่อยฝึกเท่านั้น เพราะจะไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ผู้ปกครองสามารถกระตุ้นให้มีการพูดได้โดยผ่านการเล่นได้เช่นกัน พยายามสร้างสถานการณ์ ที่กระตุ้นให้เกิดการสื่อสารขึ้น เช่น เวลาเล่นต่อจิ๊กซอว์ ก็อาจเอาไปซ่อนชิ้ นหนึ่งเพื่อให้เด็กถามหา หรือ อาจเอารองเท้าของคนอื่นมาให้เด็กใส่ เพื่อให้เด็กบอกว่า “ไม่ใช่” หรือถามหารองเท้าของตนเอง เป็นต้น นอกจากนี้ควรนําเทคนิควิธีการฝึกซึ่งได้รับการแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 
อ้างอิง
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำสื่อเทคโนโลยีไปใช้กับเด็กได้เพื่อแบ่งเบาการเรียนการสอนของเด็กและเพื่อให้ได้มีความสะดวกสบายในการสื่อสารกับครูและเพื่อนๆ  และง่ายต่อการเรียนการสอนของเด็กอีกด้วย
ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อยเข้าเรียนตรงเวลาค่ะ
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียนพอสมควร
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์สอนบรรยายและอธิบายเนื้อของแต่ละหัวได้อย่างละเอียดมากค่ะ

ชลธิชา  ป้องคำ  เลขที่ 32




วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันจันทร์ ที่ 3 พฤษจิกายน 2557
ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 103
เวลาเรียน 11.30 - 14.00 น.
กิจกรรมวันนี้
อาจารย์ประกาศคะแนนสอบกลาางภาคดิฉันได้43คะแนนจากคะแนนสอบทั้งหมด60ข้อดิฉันถือว่าผลคะแนนที่ออกมาของดิฉันเป็นที่น่าพอใจพอสมควรส่วนเพื่อนที่ได้คะแนนTOPดิฉันก็ดีใจที่เพื่อนสามารถทำคะแนนออกมาได้ดี  จากนั้นอาจารย์ก็นำข้อสอบที่สอบกลางภาคนำมาเฉลยพร้อมอธิบายข้อสอบ   จากหลังการสอบข้อสอบของอาจารย์ดิฉันคิดว่าข้อสอบไม่ยากและไม่ง่ายเกินไปการตั้งคำถามไม่ซับซ้อนมากเกินไปจึงทำให้นักศึกษาส่วนมากสอบออกมาได้ดีค่ะ
ความรู้เพิ่มเติม
การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
การเรียนร่วม หรือการจัดการศึกษาโดยรวม (Inclusive Education) เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพามาเข้าเรียน ทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กและจะต้องจัดการศึกษาให้เขาอย่างเหมาะสม การเรียนร่วมยังหมายถึงการศึกษาที่ไม่แบ่งแยกระดับชั้น เช่น อนุบาลประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ตลอดจนการดำรงชีพของคนในสังคมหลังจบการศึกษาจะต้องดำเนินไปในลักษณะร่วมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับเด็กปกติโดยไม่มีการแบ่งแยก ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดความหมายของการเรียนร่วมว่า หมายถึง วิธีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติ เพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้ตามรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข การจัดการเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติ นั้นสามารถจัดการศึกษาได้หลายหลายรูปแบบ คือ
-การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) เป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติ โดยอาจจัดให้อยู่ในชั้นปกติในบางเวลา เช่น วิชาดนตรี พลศึกษา หรือร่วมกิจกรรม ลูกเสือ- เนตรนารี กีฬาสี เป็นต้น คาดหวังว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะมีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ และยังหมายถึงการจัดชั้นเรียนเฉพาะสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกติ เด็กที่รับบริการในลักษณะนี้มักเป็นเด็กที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ ต้องมีการจัดทำแผนการศึกษาพิเศษเฉพาะบุคคลให้กับเด็ก
-การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) การจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้มีโอกาสได้เรียนชั้นเดียวกับเด็กปกติ ตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน เด็กปกติได้รับบริการการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนอย่างไร เด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ได้รับบริการเช่นเดียวกันเป้าหมายสำคัญของการเรียนร่วมเต็มเวลา คือ เพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติ เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
อ้างอิง

การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Inclusive education for children with special needs)

 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     การวางแผนในการสอนเด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ในเด็กสมาธิสั้นและเด็กพิการ    ซ้อน และเข้าใจปัญหาของเขาเพื่อครูจะได้ปฏิบัติตนให้ถูกทาง 
ประเมินตนเอง
          มีความรับผิดชอบ แต่งกายเรียบร้อยตั้งใจฟังข้อสอบที่อธิบายพร้อมเฉลยและช่วยกันแสดงความคิดต่างๆ
ประเมินเพื่อนๆ
        เพื่อนๆตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังข้อสอบที่อาจารย์นำมาเฉลยในวันนี้ แต่งกายเรียบร้อยและช่วยกันเฉลยข้อสอบและแสดงความคิดเห็น
ประเมินอาจารย์
        อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเฉลยพร้อมอธิบายอย่างละเอียด แลกเปลี่ยนคำถามกับนักศึกษา 


ชลธิชา  ป้องคำ  เลขที่32

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันจันทร์ ที่ 27 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 11 กลุ่มเรียน 103
เวลาเรียน 11.30 - 14.00 น.

เนื่องจากวันนี้ได้มีการสอบนอกตารางจึงทำให้ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ



ชลธิชา  ป้องคำ  เลขที่32

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
อาจารย์ผู้สอน ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันจันทร์ ที่ 20 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน 103
เวลาเรียน 11.30 - 14.00 น.




ชลธิชา  ป้องคำ  เลขที่32